คู่มือการใช้งานของคุณครู



              ภายในหน้าเข้าสู่ระบบ คุณครูจำเป็นต้องป้อนชื่อผู้ใช้งาน (Email) และรหัสผ่าน เพื่อทำการเข้าสู่ระบบ โดยเมื่อป้อนเสร็จสิ้นให้ทำการกด ปุ่ม “เข้าสู่ระบบ” เพื่อทำการเข้าสู่ระบบ

             หน้าหลักของคุณครูจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 (กรอบสีแดง) เป็นส่วนเมนูที่จะมีการแสดงข้อมูล รูปภาพประจำตัวผู้ใช้งาน ชื่อผู้ใช้งาน และจำนวนเหรียญของผู้ใช้งาน โดยจะมีปุ่มทั้งหมด 6 ปุ่มได้แก่
                          - หน้าหลัก จะเป็นปุ่มที่จะทำให้กลับมายังหน้าหลักของคุณครูดังรูปที่ 3
                          - ประวัติส่วนตัว จะเป็นปุ่มสำหรับการแสดงหน้าต่างประวัติส่วนตัวผู้ใช้งาน
                          - ออกจากระบบ จะเป็นปุ่มสำหรับทำการออกจากระบบ แล้วกลับไปยังหน้าหลัก
             ส่วนที่ 2 (กรอบสีน้ำเงิน) เป็นส่วนพื้นที่การแสดงข้อมูลต่าง ๆ ภายในระบบโดยขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่ากำลังใช้งานระบบภายในหน้าอะไร โดยภายในหน้าหลักของคุณครูจะเป็นการแสดงข้อมูลห้องเรียนที่คุณครูสามารถที่จะเข้าจัดการข้อมูลต่าง ๆ ภายในห้องเรียนนั้นได้ และยังมีส่วนที่ใช้ในการค้นหาห้องเรียนและสร้างห้องเรียน (ปุ่มบวก)

             หน้าต่างสร้างห้องเรียน ภายหน้านี้คุณครูสามารถที่จะสร้างห้องเรียนของตนเองได้ โดยการป้อน ชื่อหัวเรื่อง ห้องเรียน เลือกรายวิชาของห้องเรียน และทำการเลือกห้องเรียนแม่แบบให้ตรงกับรายวิชาของห้องเรียน แล้วทำการกดปุ่ม “เพิ่มข้อมูล” เพื่อสร้างห้องเรียน! (คุณครูสมารถคลิกที่ปุ่ม ลูกกระตา ด้านบนขวาของห้องเรียนแม่แบบเพื่อเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ภายในห้องเรียนแม่แบบนั้น)

             จากปุ่ม ประวัติส่วนตัว ในหน้าหลักของคุณครูส่วนที่ 1 (กรอบสีแดง) ระบบจะทำการแสดงหน้าต่างข้อมูลประวัติส่วนตัวคุณครูขึ้นมา โดยคุณครูสามารถที่จะเข้าดูข้อมูลประวัติส่วนตัว แก้ไขข้อมูลประวัติส่วนตัว แก้ไขรูปโปรไฟล์ และเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านได้

             ภายในหน้าจัดการข้อมูลจะมีปุ่มให้คุณครูได้เลือก เพื่อที่จะเข้าจัดการข้อมูลต่าง ๆ ภายในห้องเรียนโดยมีปุ่น 3 ปุ่ม ได้แก่ ปุ่มที่ 1 จัดการข้อมูลการเรียน เป็นปุ่มที่คุณครูจะสามารถเข้าจัดการข้อมูลการเรียนภายในห้องเรียน เช่น เข้าจัดการข้อมูลหน่วยการเรียนรู้ บทเรียน แบบทดสอบ และแบบฝึกหัด เป็นต้น ปุ่มที่ 2 นักเรียนภายในห้องเรียน เป็นปุ่มที่คุณครูจะสามารถเข้าดูข้อมูลนักเรียนที่อยู่ภายในห้องเรียนได้ ปุ่มที่ 3 ตรวจสอบคะแนน เป็นปุ่มที่คุณครูจะสามารถเข้าดูคะแนนของนักเรียนภายในห้องเรียนได้หรือเข้าดูการกระทำของนักเรียน เช่น การเข้าดูการเข้าทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดของนักเรียนภายในห้องเรียน

              เมื่อคุณครูทำการคลิกปุ่ม “จัดการข้อมูลการเรียน” ระบบจะทำการแสดงหน้าระบบดงัรูปที่ 7 โดยภายในหน้านี้จะเป็นหน้าจัดการหน่วยการเรียนรู้ โดยคุณครูจะสามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข หน่วยการเรียนรู้ เข้าจัดการแบบทดสอบ เข้าจัดการบทเรียนภายในหน่วยการเรียนรู้ และเข้าจัดการข้อมูลสื่อการเรียนรู้

              ภายในหน้าจัดการสื่อการเรียนรู้ คุณครูสามารถที่ เพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลสื่อการเรียนรู้ได้ โดยเมื่อคุณครูต้องการจะเพิ่ม สื่อการเรียนรู้ คุณครูสามารถที่จะคลิกปุ่ม “เพิ่มสื่อการเรียนรู้” แล้วระบบจะทำการแสดงหน้าต่างโดยได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของข้อมูลทั่วไป และส่วนของข้อมูลความเกี่ยวข้อง

             ส่วนของข้อมูลทั่วไป ในส่วนนี้คุณครูจะต้องป้อนข้อมูลทั่วไปของสื่อการเรียนรู้ เช่น ชื่อสื่อการเรียนรู้ ชื่อผู้จัดทำ ประเภท คำอธิบาย URLของสื่อการเรียน และทำการเลือกรูปสื่อการเรียนรู้ ต่อมาในส่วนของข้อมูลความเกี่ยวข้อง จะเป็นส่วนที่คุณครูจะทำการกำหนดความเกี่ยวข้องของสื่อการเรียนรู้กับบทเรียนต่าง ๆ ภายในหน่วยการเรียนรู้ว่า สื่อการเรียนรู้นี้เกี่ยวกับบทเรียนอะไรบ้างและเกี่ยวข้องกันมากน้อยแค่ไหน

             ภายในหน้าจัดการแบบทดสอบ คุณครูสามารถที่จะเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลแบบทดสอบได้ ซึ่งการที่คุณครูจะทำการเพิ่มข้อมูลแบบทดสอบ สามารถคลิกที่ปุ่ม “เพิ่มข้อแบบทดสอบ” แล้วระบบจะทำการแสดงหน้าต่างเพิ่มข้อแบบทดสอบ และสามารถตั้งค่าการทำแบบมดสอบได้โดยการคลิกที่ปุ่ม “ตั้งค่า” แล้วระบบจะทำการแสดงหน้าต่างตั้งค่าแบบทดสอบ

             จากหน้าต่างเพิ่มข้อแบบทดสอบ คุณครูจำเป็นจะต้องป้อนให้ครบก่อนทำการเพิ่มข้อแบบทดสอบ เช่น โจทย์ ตัวเลือกทั้ง 4 ตัวเลือก กำหนดคะแนน เลือคำตอบที่ถูกต้อง และกำหนดว่าจะให้มีการส่งกระดาษทดหรือไม่

             หน้าต่างตั้งค่าแบบทดสอบ จะเป็นที่คุณครูทำการตั้งค่ากำหนดเวลาในการทำแบบทดสอบของนักเรียน และกำหนดจำนวนในการเข้าแบบทดสอบของนักเรียน โดยในส่วนของการกำหนดเวลาคุณครูสามารถเลือกได้ว่าจะทำการกำหนดเวลาในการทำหรือไม่กำหนดก็ได้ด้วยเช่นเดียวกัน

หน้าจัดการบทเรียน ภายในหน้านี้จะเป็นการให้คุณครูสามารถที่จะเข้าเพิ่ม ลบ แก้ไข บทเรียน และทำการเข้าจัดการข้อมูลแบบฝึกหัดภายในบทเรียนนั้น โดยคุณครูจะสามารถเพิ่มบทเรียนได้โดยการคลิกที่ปุ่ม “เพิ่มบทเรียน” แล้วระบบจะทำการแสดงหน้าต่างเพิ่มบทเรียน

             ภายในหน้าต่างเพิ่มบทเรียน คุณครูจะต้องป้อนข้อมูล ชื่อบทเรียน คำอธิบายบทเรียน แล้วใส่ลิงค์วิดีโอจาก Youtube และทำการกำหนดระยะเวลาในการที่นักเรียนจะต้องเข้าดูวิดีโอบทเรียนเพื่อทำการ ยืนหยันการเข้าเรียนจะเห็นว่ามีการตั้งเวลาไว้ที่ 10 นาที 0 วินาที ซึ่งนักเรียนจะต้องเข้าดูวิดีโอบทเรียนเป็นเวลา 10 นาที เพื่อทำให้ปุ่ม “เซ็คเข้าเรียน” แสดงขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนเซ็คเข้าเรียนได้

             ภายในหน้าจัดการแบบฝึกหัด คุณครูสามารถที่เข้าจัดการเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลแบบฝึกหัดได้ ซึ่งภายในหน้านี้จะมี 2 ปุ่มสำศัญคือ ปุ่มตั้งค่า และปุ่มเพิ่มข้อแบบฝึกหัด

             จากหน้าต่างเพิ่มข้อแบบฝึกหัด คุณครูจำเป็นจะต้องป้อนให้ครบก่อนทำการเพิ่มข้อแบบฝึกหัด เช่น โจทย์ ตัวเลือกทั้ง 4 ตัวเลือก กำหนดคะแนน เลือคำตอบที่ถูกต้อง และกำหนดว่าจะให้มีการส่งกระดาษทดหรือไม่

             หน้าต่างตั้งค่าแบบฝึกหัด จะเป็นที่คุณครูทำการตั้งค่ากำหนดเวลาในการเข้าทำแบบแบบฝึกหัด และกำหนดจำนวนในการเข้าแบบแบบฝึกหัดของนักเรียน โดยในส่วนของการกำหนดเวลาคุณครูสามารถเลือกได้ว่าจะทำการกำหนดเวลาในการทำหรือไม่กำหนดก็ได้ด้วยเช่นเดียวกัน

             จากหน้าจัดการข้อมูล เมื่อคุณครูทำการคลิกปุ่ม “นักเรียนภายในห้องเรียน” ระบบจะทำการแสดงหน้าระบบ หน้ารายชื่อนักเรียนภายในห้องเรียน โดยคุณครูจะสามารถ เชิญนักเรียนให้เข้าเข้ามาในห้องเรียน สามารถที่จะกดที่ชื่อนักเรียนแต่ละคนเพื่อเข้าดูรายละเอียดของนักเรียนคนนั้น และการนำนักเรียนออกจากห้องเรียน โดยเมื่อคุณครูคลิกปุ่ม “เชิญนักเรียน” ระบบก็จะแสดงหน้าต่างการเชิญนักเรียน และเมื่อคุณครูคลิกที่ชื่อนักเรียน ระบบก็จะแสดงหน้าต่างแสดงรายละเอียดนักเรียน ในกรณีที่ชื่อนักเรียนเป็น สีแดง นั้นคือนักเรียนที่ได้ทำการเชิญเข้าสู่ห้องเรียน แต่นักเรียนยังไม่ได้ยืนหยันเข้าสู่ห้องเรียน

             จากหน้าต่างการเชิญนักเรียน คุณครูจะต้องป้อน Mail ของนักเรียนลงในช่องข้อความโดยสามารถที่จะป้อนได้ครั้งละหลาย ๆ Mail แล้วทำการคลิกที่ปุ่ม “เชิญ”

             จากหน้ายืนหยันการเชิญนักเรียน จะเป็นที่ระบบจะนำเอาข้อมูลนักเรียนที่คุณครูได้ทำการป้อน Mail เชิญเข้าห้องเรียน มาแสดงเพื่อให้คุณครูตรวจสอบแล้วทำการคลิกยืนหยันการเชิญอีกครั้งที่ปุ่ม “ยืนหยันการเชิญ”

             จากหน้าต่างแสดงรายละเอียดนักเรียน คุณครูสามารถที่จะดูรายละเอียดของนักเรียน และสามารถที่จะคลิกปุ่ม “นำออก” เพื่อทำการนำนักเรียนคนนั้นออกจากห้องเรียนได้

             จากหน้าจัดการข้อมูลเมื่อคุณครูทำการคลิกปุ่ม “ตรวจสอบคะแนน” ระบบจะทำการแสดงหน้าระบบดังรูปที่ 28 หน้าตรวจสอบคะแนนนักเรียน โดยในหน้านี้จะมีการเข้าดูคะแนนของนักเรียนหลายรูปแบบ
             1. การเข้าดูคะแนนนักเรียนเป็นรายบุคคล
             2. การเข้าดูคะแนนนักเรียนทั้งห้องเรียน
             3. การเข้าดูการเข้าทำแบบทดสอบ แบบฝึกหัดและการเข้าเรียนบทเรียน
             4. การพิมพ์รายงาน

             การเข้าดูคะแนนนักเรียนเป็นรายบุคคล จะเป็นการเข้าดูคะแนนของนักเรียนรายบุคคลโดยการคลิกที่ชื่อของนักเรียน
             จากหน้าสรุปผลคะแนนแบบทดสอบตามหน่วยการเรียนรู้ จะเป็นที่จะทำการแสดงคะแนนแบบทดสอบของนักเรียนในรูปแบบ แผนภูมิ โดยจะสามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงคะแนนแบบทดสอบของนักเรียนในรูปแบบแผนภูมิอะไร โดยมีให้เลือก 3 แบบ แบบที่ 1 แผนภูมิแท่ง แบบที่ 2 แผนภูมิวงกลม แบบที่ 3 แผนภูมิเปรียบเทียบ ซึ่งแผนภูมิเปรียบเทียบนั้นจะเป็นแผนภูมิที่จะทำการแสดงคะแนนนักเรียนแบ่งออกเป็นในแต่ละครั้ง เพื่อมห้คุณครูสามารถที่จะดู พัฒนาการของนักเรียนในการทำแบบทดสอบได้และภายในหน้านี้คุณครูสามารถที่จะเข้าดูการทำแบบทดสอบของนักเรียนได้โดยการคลิกที่ปุ่มหน่วยการเรียนรู้ในส่วนของการ เข้าดูการทำแบบทดสอบ และสามารถเข้าดูคะแนนแบบฝึกหัดของนักเรียนภายในหน่วยการเรียนได้โดยการคลิกที่ปุ่ม หน่วยการเรียนรู้ ในส่วนการเข้าดูคะแนนแบบฝึกหัดตามบทเรียน


             จากหน้าแสดงคะแนนแบบฝึกหัดตามบทเรียน จะเป็นที่จะทำการแสดงคะแนนแบบฝึกหัดของนักเรียนในรูปแบบ แผนภูมิ โดยจะสามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงคะแนนแบบฝึกหัดของนักเรียนในรูปแบบแผนภูมิอะไร โดยมีให้เลือก 3 แบบ เหมือนกับการแสดงคะแนนแบบทดสอบ และภายในหน้านี้คุณครูสามารถที่จะเข้าดูการทำแบบฝึกหัดของนักเรียนได้โดยการคลิกที่ปุ่มบทเรียนในส่วนของการ เข้าดูการทำแบบฝึกหัด

             การเข้าดูคะแนนนักเรียนทั้งห้องเรียน ระบบจะทำการนำเอาคะแนนเด็กนักเรียนทั้งหมดภายในห้องเรียนมารวมกันเพื่อคำนวน (การคำนวนคะแนนระบบจะไม่นำคะแนนของนักเรียนที่ไม่มีคะแนนมาคำนวน) แล้วแสดงผลคพแนน ออกเป็นรูปแบบแผนภูมิแท่ง และแผนภูมิวงกลม ซึ่งภายในหน้านี้จะมีการแสดงผลจากการคำนวนคพแนน คือ คะแนนรวม คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
             โดยในหน้านี้คุณครูยังสามารถที่จะเข้าดูสรุปผลรวมคะแนนของแบบฝึกหัดได้โดยการคลิกที่หน่วยการเรียนรู้

             การเข้าดูการเข้าทำแบบทดสอบ แบบฝึกหัดและการเข้าเรียนบทเรียนของนักเรียนนั้น คุณครูสามารถที่จะเข้าดูได้ว่า นักเรียนคนใดได้เข้าทำแบบทดสอบ เข้าทำแบบฝึกหัดหรือเข้าเรียนบทเรียน

             ระบบได้ทำการแบ่งการเข้าดูแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของแบบทดสอบ ซึ่งในกรณีที่คลิกเข้าดูสรุปการเข้าทำแบบทดสอบ ระบบจะทำการแสดงหน้าตรวจสอบการเข้าทำแบบทดสอบ ซึ่งภายในหน้านี้มีการคำนวนส่วนหนึ่งคือการ คำนวนคะแนนนักเรียนว่าคะแนนใครผ่านครึ่งหรือคะแนนใครไม่ผ่านครึ่งโดยสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะให้คะแนน ผ่านครึ่ง หรือผ่านค่าเฉลี่ย


             กรณีที่ทำการเลือกเข้าดูการเข้าทำแบบฝึกหัดและบทเรียนของนักเรียน ระบบจะทำการเข้าเรียนบทเรียน ระบบจะทำการแสดงหน้าตรวจสอบการเข้าเรียนบทเรียน ภายในหน้านี้ยังมีการคำนวนอีกส่วนหนึ่งคือการ คำนวนคะแนนนักเรียนว่าคะแนนใครผ่านครึ่งหรือคะแนนใครไม่ผ่านครึ่งซึ่งเหมือนกับการเข้าดูการเข้าทำแบบทดสอบ แต่ภายในหน้านี้ยังมีส่วนที่เพิ่มขึ้นคือ ส่วนการตรวจสอบการเข้าเรียนบทเรียนของนักเรียน

             ในส่วนของการพิมพ์รายงานจะแบบออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ การพิมพ์รายงานเป็นรายบุคคลและการพิมพ์สรุปผลคะแนนนักเรียนทั้งหมด โดยคุณครูสามารถที่จะคลิกที่ตัวนักเรียนเพื่อพิมพ์รายงานคะแนนของนักเรียนคนได้หรือคลิกที่ปุ่ม “พิมพ์สรุปผลคะแนนนักเรียนทั้งหมด” เพื่อพิมพ์รายงานคะแนนนักเรียนทั้งหมด




Copyright © 2020 พัฒนาและออกแบบระบบโดย : วิทยาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้โครงการ
การการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี