Surat Thani Smart City




ย้อนกลับ
คำอธิบาย
          ดร.นรา พงษ์พานิช หัวหน้าชุดโครงการวิจัย ร่วมกับคณะนักวิจัยในทีมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรมขับเคลื่อน “กลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วม” กับประชาชนและผู้นำชุมชนบ้านล่าง (นายอารักษ์ บุณยกาญจนากร) และเจ้าหน้าที่สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ตลอดจนภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ด้วยการวาด “ภาพบนผนัง” (Graffiti) จากฝีมือการวาดภาพโดย นักศึกษาสาขาวิชาจิตกรรม ได้แก่ นางสาวกรกนก ทองส่งโสม สาขาจิตรกรรม ปี 2 นายอานนท์ คล้ายกลิ่น สาขาจิตรกรรม ปี 2 นางสาวนลินธร นเรศ สาขาจิตรกรรม ปี 3 นางสาวสุทัชชา เพชรรักษ์ สาขาจิตรกรรม ปี 3 นางสาวธนพร วิชิตบุตร สาขาจิตรกรรม ปี 3 โดยมี ผศ.ธีรศักดิ์ ทองนุ้ยพราหมณ์ รวมทั้งนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี บริเวณอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ปากซอยตลาดล่าง 3 ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของอาคารดังกล่าว ประกอบด้วย 3 ภาพ ซึ่งมีชื่อภาพ ได้แก่ ภาพที่ 1 "อู่ต่อเรือ" (ยุคแรกเริ่ม) ภาพที่ 2 "โรงกลึง" (ยุคเฟื่องฟู) และภาพที่ 3 "รถตุ๊กตุ๊ก" (ยุคปัจจุบัน) ทั้งนี้ ยังส่งผลให้เกิดการบูรณะอาคารเก่าขึ้นในชุมชน ภายใต้เป้าหมายและกิจกรรมตามแผนแม่บทที่กำหนดไว้ เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และสร้างแรงบันดาลใจสู่การเป็น “ถนนศิลปะบ้านล่าง” (Street Art) โดยมีเป้าหมายในการวาดภาพบนผนังตลอดถนนตลาดล่าง และปรับปรุงอาคารเก่าที่มีความสำคัญขอบชุมชนมาเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Museum) และกลายเป็น “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” ของย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ต่อไป

          นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยและชาวชุมชนบ้านล่างยังมีเป้าประสงค์มุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยการเตรียมนำเอาเทคโนโลยี Augmented Reality หรือ AR คือ เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน มาใช้ประกอบการนำเสนอและสื่อความหมายในเรื่องความเป็นมาและความสำคัญของวิถีชีวิต ความรุ่งเรือง ภูมิและปัญญาท้องถิ่นของคนบ้านล่าง เพื่อส่งเสริมการรับรู้ถึงตัวตน ความภาคภูมิใจ การสืบสาน ต่อยอด และการท่องเที่ยวในย่านชุมชนเก่าบ้านล่างอีกด้วย
รูปภาพประกอบ