Surat Thani Smart City



ความสำคัญและที่มาของปัญหา

ที่มาของโครงการ
          จากการสำรวจพื้นที่ภาคสนามและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีได้รับผลกระทบจากสภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรในศตวรรษที่ 21 ประชากรผู้สูงวัยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ เกิดปัญหาคุณภาพของระบบสุขภาพ ขาดการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่เกิดแก่ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงวัย สตรี เพศทางเลือก ทั้งนี้ ยังพบว่าสภาพปัจจุบันของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี กำลังได้รับผลกระทบและเกิดปัญหา (Pain Point) จากสถานการณ์ดังกล่าวในข้างต้น ทั้งในมิติด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจและการเมือง นอกจากนี้ ทิศทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่นั้น รัฐบาลให้ความสำคัญและถือเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน และได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ” ขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 267/2560 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2560 และเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีได้รับ “ใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ” จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การประเมินและการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
          ทั้งนี้ ภายใต้บทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในการทำงานวิจัยและงานบริการรับใช้สังคมและชุมชนท้องถิ่น ประกอบกับที่มาและความสำคัญของปัญหาจากที่กล่าวมาข้างต้น จึงเกิดการจัดทำบันทึกความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อร่วมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน จากการบูรณาความร่วมมือจึงได้กำหนดพื้นที่ศึกษาเพื่อเป็นกรณีต้นแบบ คือ “ย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี” ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณ “ตลาดบ้านดอน” “บ้านหน้าด่าน” และ “พื้นที่ต่อเนื่อง” ภายใต้บริบทความเป็นย่านที่มีอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนาธรรมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นย่านที่กำลังได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองแบบกระจาย และเป็นย่านที่ได้อยู่ในพื้นที่รับการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ผ่านความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีความประสงค์จัดทำชุดโครงการวิจัยเรื่อง “การสร้างกลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเพื่อยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสู่เมืองอัจฉริยะ” ประกอบด้วย 4 โครงการวิจัยย่อย ได้แก่

          1. การสร้างกลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ
          2. การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
          3. การพัฒนากลไกสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ
          4. การพัฒนาระบบให้บริการและแนะนำข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวอัจฉริยะในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

          วิธีการดำเนินงานของชุดโครงการวิจัยนี้ จะผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนโครงการนี้ ซึ่งประกอบด้วย ภาควิชาการ ภาคปกครอง ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาคประชาชน ในรูปแบบการบูรณาการศาสตร์ในด้านต่าง ๆ จากคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกับแนวคิดในการทำงานร่วมกัน คือ “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม” (Participatory Action Research : PAR) และ “การร่วมรังสรรค์” (Co-creation) เพื่อมุ่งเน้นการสร้างกลไกแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และนำไปสู่การสร้างความเสมอภาคของคนทุกช่วงวัย การสร้างงาน การสร้างสังคมเป็นสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และความเป็นเมืองอัจฉริยะ ต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
          1) เพื่อพัฒนากลไกสร้างสรรค์และขับเคลื่อนเชิงพื้นที่สำหรับย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
          2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
          3) เพื่อเสนอแนวทางการยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสำหรับย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

พื้นที่ศึกษาของโครงการ
          ขอบเขตด้านพื้นที่เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ คือ ย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณ “ตลาดบ้านดอน” “บ้านหน้าด่าน” และ “พื้นที่ต่อเนื่อง” ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วย (1) ชุมชนตลาดล่าง (2) ชุมชนหน้าด่าน (3) ชุมชนวัดไทร (ตลาดศาลเจ้า) (4) ชุมชนตลาดท่าเรือ (5) ชุมชนตาปี (6) ชุมชนตลาดเกษตร (ร่วมมือกับชุมชนราษฎร์อุทิศ) และ (7) พื้นที่ต่อเนื่อง ได้แก่ ตลาดสะพานโค้ง 100 ปี (สะพานเศรษฐภักดี) ตลาดสดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี พื้นที่ริมแม่น้ำตาปี (ฝั่งทิศใต้) และศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี โดยใช้ฐานข้อมูลย่านชุมชนเก่าของกองการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ


รูปภาพประกอบ























ที่มาของโครงการ
          จากการสำรวจพื้นที่ภาคสนามและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีได้รับผลกระทบจากสภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรในศตวรรษที่ 21 ประชากรผู้สูงวัยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ เกิดปัญหาคุณภาพของระบบสุขภาพ ขาดการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่เกิดแก่ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงวัย สตรี เพศทางเลือก ทั้งนี้ ยังพบว่าสภาพปัจจุบันของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี กำลังได้รับผลกระทบและเกิดปัญหา (Pain Point) จากสถานการณ์ดังกล่าวในข้างต้น ทั้งในมิติด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจและการเมือง นอกจากนี้ ทิศทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่นั้น รัฐบาลให้ความสำคัญและถือเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน และได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ” ขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 267/2560 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2560 และเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีได้รับ “ใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ” จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การประเมินและการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
          ทั้งนี้ ภายใต้บทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในการทำงานวิจัยและงานบริการรับใช้สังคมและชุมชนท้องถิ่น ประกอบกับที่มาและความสำคัญของปัญหาจากที่กล่าวมาข้างต้น จึงเกิดการจัดทำบันทึกความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อร่วมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน จากการบูรณาความร่วมมือจึงได้กำหนดพื้นที่ศึกษาเพื่อเป็นกรณีต้นแบบ คือ “ย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี” ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณ “ตลาดบ้านดอน” “บ้านหน้าด่าน” และ “พื้นที่ต่อเนื่อง” ภายใต้บริบทความเป็นย่านที่มีอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนาธรรมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นย่านที่กำลังได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองแบบกระจาย และเป็นย่านที่ได้อยู่ในพื้นที่รับการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ผ่านความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีความประสงค์จัดทำชุดโครงการวิจัยเรื่อง “การสร้างกลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเพื่อยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสู่เมืองอัจฉริยะ” ประกอบด้วย 4 โครงการวิจัยย่อย ได้แก่

          1. การสร้างกลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ
          2. การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
          3. การพัฒนากลไกสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ
          4. การพัฒนาระบบให้บริการและแนะนำข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวอัจฉริยะในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

          วิธีการดำเนินงานของชุดโครงการวิจัยนี้ จะผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนโครงการนี้ ซึ่งประกอบด้วย ภาควิชาการ ภาคปกครอง ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาคประชาชน ในรูปแบบการบูรณาการศาสตร์ในด้านต่าง ๆ จากคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกับแนวคิดในการทำงานร่วมกัน คือ “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม” (Participatory Action Research : PAR) และ “การร่วมรังสรรค์” (Co-creation) เพื่อมุ่งเน้นการสร้างกลไกแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และนำไปสู่การสร้างความเสมอภาคของคนทุกช่วงวัย การสร้างงาน การสร้างสังคมเป็นสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และความเป็นเมืองอัจฉริยะ ต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
          1) เพื่อพัฒนากลไกสร้างสรรค์และขับเคลื่อนเชิงพื้นที่สำหรับย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
          2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
          3) เพื่อเสนอแนวทางการยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสำหรับย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

พื้นที่ศึกษาของโครงการ
          ขอบเขตด้านพื้นที่เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ คือ ย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณ “ตลาดบ้านดอน” “บ้านหน้าด่าน” และ “พื้นที่ต่อเนื่อง” ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วย (1) ชุมชนตลาดล่าง (2) ชุมชนหน้าด่าน (3) ชุมชนวัดไทร (ตลาดศาลเจ้า) (4) ชุมชนตลาดท่าเรือ (5) ชุมชนตาปี (6) ชุมชนตลาดเกษตร (ร่วมมือกับชุมชนราษฎร์อุทิศ) และ (7) พื้นที่ต่อเนื่อง ได้แก่ ตลาดสะพานโค้ง 100 ปี (สะพานเศรษฐภักดี) ตลาดสดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี พื้นที่ริมแม่น้ำตาปี (ฝั่งทิศใต้) และศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี โดยใช้ฐานข้อมูลย่านชุมชนเก่าของกองการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ


รูปภาพประกอบ